ประวัติ โรงเรียนบ้านบูรพา

 ประวัติโรงเรียนบ้านบูรพา

ชื่อโรงเรียนบ้านบูรพา 
ที่ตั้ง 77  หมู่ที่  5    ตำบลจาน  อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ

สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต  1 
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โทรศัพท์  –   
โทรสาร    –      
e-Mail    –       
Website  http://burapha.ssk.in.th
Facebook :

เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่  1  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  
เนื้อที่  6  ไร่  3  งาน  12  ตารางวา

เขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน

 ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนบ้านบูรพา  เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  เปิดสอนจากระดับชั้นอนุบาล 1  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการตั้งอยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ที่ 5 ตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ  ห่างจากตัวอำเภอกันทรารมย์ไปทางทิศใต้  ตามทางหลวงหมายเลข 2360 บ้านคำบอน – บ้านสบาย ประมาณ  10..5  กิโลเมตร เป็นโรงเรียนขนาดกลาง (จำนวนนักเรียน 121 – 300 คน) มีนักเรียน 105 คน เริ่มก่อตั้งและเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2489 จนถึงปัจจุบัน  มีเนื้อที่ทั้งหมด 6 ไร่ 3 งาน 12  ตารางวา  โดยได้รับบริจาคที่ดินส่วนตัวจากนายโต่น  ขันชัย  ราษฎรบ้านบูรพาจำนวน  5  ไร่  25  ตารางวา  ต่อมาผู้นำชุมชน ชุมชน คณะศิษย์เก่า  ผู้ปกครองและคณะครูได้ร่วมกันจัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษาจัดซื้อที่ดินเพิ่ม 1 ไร่  2 งาน 87  ตารางวามีอาคารเรียน  3  หลัง  คือ  อาคารเรียนแบบ  ศก. 01  สองชั้น  6  ห้องเรียน  อาคารเรียนแบบ ศก. 04  สองชั้น  6  ห้องเรียน  และอาคารเรียนคอนกรีต แบบ สปช. 105/29  สองชั้น  6  ห้องเรียน  อาคารเอนกประสงค์แบบ ศก. 21  1  หลัง ส้วมแบบ สปช. 605/26  3  หลัง  10  ที่

อาณาเขต

ทิศเหนือติดต่อกับบ้านสร้างเหล่า  บ้านกล้วยตำบลยางอำเภอกันทรารมย์.

ทิศใต้ติดต่อกับบ้านผักบุ้งตำบลจาน  อำเภอกันทรารมย์

ทิศตะวันออกติดต่อกับ ลำน้ำห้วยทา บ้านโนนเชียงสีตำบลคูบ  อำเภอน้ำเกลี้ยง

ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านโนนเปือย ตำบลจาน บ้านสวนอ้อย ตำบลผักแพวอำเภอกันทรารมย์

แผนที่เดินทางไปโรงเรียนบ้านบูรพา

สภาพชุมชนโดยรอบ

          สภาพชุมชนโดยทั่วไปเป็นที่ราบทุ่งนาโล่ง สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย  มีแหล่งน้ำธรรมชาติ  คือ  ลำห้วยทาไหลซึ่งผ่านทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน  ห่างประมาณ  3  กิโลเมตรมี  3  ฤดู  ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก  คือ  ทำนา ทำสวน ทำไร่ อาชีพเสริม  คือค้าขาย และรับจ้าง จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา   รายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 5,000 บาทต่อปี ประชากรส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ  95  นับถือศาสนาพุทธ  ใช้ภาษาไทยอีสานเป็นภาษาถิ่น  ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรม  ส่วนใหญ่ยึดจารีตประเพณีที่เรียกว่า  ฮีตสิบสองคองสิบสี่  หรือการทำบุญ  12  เดือน  เช่น  เดือนอ้าย  บุญปริวาสกรรม  เดือนยี่  บุญคูณลาน  เดือนสาม  บุญข้าวจี่  เดือนสี่  บุญเผวส (พระเวสสันดร) เป็นต้นมีสภาพการปกครองเป็นรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล(องค์การบริหารส่วนตำบลจาน)  มีประชากรในเขตบริการประมาณ  2,080  คน

          อักษรย่อ                             บ.พ

          ปรัชญาโรงเรียน           “เพิ่มพูนปัญญา พัฒนาคน พัฒนาชึวิต”

          คำขวัญประจำโรงเรียน   “รักเรียน เพียรกีฬา นำพาวินัย ใฝ่คุณธรรม”

          สีประจำโรงเรียน          “แสด – ขาว”

          ความหมายของสีประจำโรงเรียน     สีแสด  หมายถึงความพยายาม ความพากเพียร ความอดทน  ความเข้มแข็ง  และแสดงถึงความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

           สีขาว  หมายถึง  ความเป็นผู้มีจิตใจเมตตา ซื่อสัตย์ บริสุทธิ์  มีปัญญามีระเบียบวินัย ความก้าวหน้า  และความสงบสุขในชีวิต

           ธงประจำโรงเรียน                   พื้นธงแสด – ขาวตราโรงเรียนอยู่ตรงกลางผืนธง

          ดอกไม้ประจำโรงเรียน              ดอกลำดวน – ดอกพิกุล

          ต้นไม้ประจำโรงเรียน               ต้นลำดวน – ต้นพิกุล

ตราประจำโรงเรียน

3.  ข้อมูลนักเรียน

  1. ผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อ   นางกาญจนา ชมสูงเนิน              
    โทรศัพท์  08-1790-3981                      
    e- Mail   ppiip-1749@hotmail.com   
    วุฒิการศึกษาสูงสุด  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต      สาขา  บริหารการศึกษา   
    ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้  ตั้งแต่  วันที่  25  มกราคม  2563     จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา  2  ปี     –   เดือน
  2. รองผู้อำนวยการโรงเรียน      –      คน
  3. e- Mail         –        รับผิดชอบกลุ่มฝ่าย(ตามโครงสร้างการบริหารงานของสถานศึกษา)

          3.3  ข้อมูลนักเรียน (ณ วันที่  10  มิถุนายน  ของปีการศึกษาที่รายงาน )

                3.3.1 จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งสิ้น  105  คน

               3.3.2 จำนวนนักเรียนในโรงเรียนทั้งสิ้น  105  คน